036-413-299, 089-830-6420 (LINE ID: @starmaths) starmaths2018@gmail.com

...dermatoglyphics...

พันธุศาสตร์ลายนิ้วมือ

พันธุศาสตร์ลายนิ้วมือลายเส้นผิวหนัง dermal ridge หรือ dermatoglyphics หมายถึง ลายเส้นบนฝ่ามือ(palmprint) ลายนิ้วมือ(fingerprint) ลายฝ่าเท้า(footprint) มีลักษณะเป็นเส้นนูนปรากฎบนผิวหนังนิ้วมือและนิ้วเท้าของทุกคน เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล แม้แต่ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน (Identical twins) ก็มีลักษณะลายเส้นผิวหนังแตกต่างกัน

การนำลายเส้นผิวหนัง

โดยเฉพาะลายนิ้วมือไปใช้ประโยชน์ในด้านนิติวิทยาศาสตร์คือ การพิสูจน์บุคคล และด้านการแพทย์ ในการช่วยวินิจฉัยโรคพันธุกรรมได้อีกด้วย การสร้างลายเส้นบนนิ้วมือถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมร่างกายมากถึง 7 ตำแหน่ง และเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลร่วมด้วย (polygenic trait, multifactorial inheritance) ยีนหลายคู่มีปฏิกิริยาร่วมกับสิ่งแวดล้อมในระยะตัวอ่อนในครรภ์ (prenatal stress) มีผลให้แต่ละคนมีเส้นลายนิ้วมือที่แตกต่างกันไป

จากการศึกษาของ เพนโรส และโอฮารา (Penrose and Ohara) โอคาจิมา (Okajima) และบาคเลอร์ (Bakler) พบว่าลายเส้นบนนิ้วมือเริ่มสร้างขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 10 ถึง 11 หลังจากที่ไข่ผสมกับสเปิร์ม ในช่วงเวลาดังกล่าว ลายเส้นบนผิวหนังปรากฎเป็นครั้งแรกในบริเวณผิวหนังภายนอก (basal layer of epidermis) มีชื่อเรียกว่า ลายเส้นปฐมภูมิ (primary ridge) แล้วเจริญเติบโตต่อไป จนกระทั่งประมาณสัปดาห์ที่ 14 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต่อมเหงื่อเริ่มเกิดขึ้นตามแนวลายเส้นปฐมภูมิบนกลางฝ่ามือ (primary ridge formation creases) แล้วลายเส้นทุติยภูมิ (secondary ridge) จึงเริ่มเกิดขึ้นระหว่างลายเส้นปฐมภูมินั้น จนกระทั่งประมาณสัปดาห์ที่ 24 ถึง 25 หลังจากนั้นลายเส้นก็จะคงอยู่และไม่เปลี่ยนแปลง

จุดมุ่งหมายในการตรวจวัดลายนิ้วมือ

พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์จะสามารถเข้าใจถึงอัจฉริยภาพของเด็กโดยกำเนิดทำให้เกิดความเข้าใจความแตกต่างด้านวิธีการเรียนรู้ และความแตกต่างในพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน หลังจากเข้าใจในความแตกต่างของเด็กจากผลรายงานแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกวิธีสอนตามความสามารถของเด็กที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ จะทำให้คุณเข้ากับเด็กได้ง่ายขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเด็กก็จะดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกันได้อีกด้วย

เทคโนโลยีพันธุศาสตร์ลายนิ้วมือ

ระบบการสแกนลายนิ้วมือ เพื่อประเมินอัจฉริยภาพและการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านการศึกษา ระบบดังกล่าวได้ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของนักวิชาการด้านการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดยนำเอาศาสตร์ต่างๆมาประยุกต์ใช้ เช่น ประสาทวิทยา พันธุศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาและการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทำให้เราสามารถทราบและเข้าใจถึงอัจฉริยภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือได้รับการถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมเป็นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถจัดสภาพแวดล้อมและหาแนวทางการส่งเสริม หรือพัฒนาได้ตรงกับผู้เรียนมากขึ้น

ความสัมพันธ์สมองกับสองมือ

เส้นประสาทของสมองและลายนิ้วมือได้เจริญเติบโตพร้อมกัน ซึ่งลายนิ้วมือที่ปรากฎนั้นจะคงอยู่และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอดชีวิต ซึ่งต่อมาในภายหลัง การวิจัยทางการแพทย์ได้ทำการยืนยันอีกครั้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้งสองส่วนในปี 1832 เริ่มจากศัลยแพทย์ Charles Bell แพทย์เฉพาะทางประเทศอังกฤษได้เขียนบทความชื่อ “The Hand : its mechanism and vital endowments as evincing” (Bell ,1774-1842) โดยในสมัยที่เป็นศัลยแพทย์ที่มหาวิทยาลัยอิเด็นเบิร์ก ท่านคือคนแรกที่ได้ทำการผ่าตัดเกี่ยวกับระบบประสาท และก็ทำให้เขาได้พบว่ามีความสัมพันธ์และมีการเชื่อมโยงกันของระบบประสาทของสมองกับมือ โดยพบว่ามีการเชื่อมโยงกันมากกว่าการเชื่อมโยงกับอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกาย และในการค้นพบครั้งนั้นก็ได้ทำให้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับสมองและมือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเริ่มใช้แนวคิดนี้เป็นหลัก เพื่อนำมาอธิบายกับปัญหาหลายอย่างในด้านที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบความรู้สึกของมนุษย์

ประโยชน์จากการประเมินอัจฉริยภาพด้วยพันธุศาสตร์ลายนิ้วมือ

สำหรับวัยเด็กเล็ก

  • เพื่อวางแผนในการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัดตั้งแต่วัยเด็ก
  • ทราบถึงวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมและเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของเด็ก
  • เพื่อกระตุ้นทักษะการเรียนรู้ และการพัฒนาการของแต่ละช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม

สำหรับเด็กในวัยเรียน

  • ทำให้เข้าใจความสามารถที่หลากหลายในตัวของเด็ก
  • ทราบถึงวิธีการสื่อสารที่ถูกต้องระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง
  • เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสายวิชาเรียนตามความถนัด
  • เพื่อจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล
  • ทำให้ทราบถึงความสามารถพิเศษทางด้านงานฝีมือ
    ค้นพบศักยภาพแฝงของแต่ละบุคคล

สำหรับบุคคลวัยทำงาน

  • ทำให้ทราบถึงศักยภาพที่โดดเด่นในตนเอง
  • ทำให้เข้าใจตัวเองและปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดีขึ้น
  • เพื่อเสริมสร้างเทคนิคการสื่อสารระหว่างหัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับองค์กร

  • ช่วยในการประเมินศักยภาพของบุคลากรในการรับพนักงานใหม่ ให้เหมาะกับตำแหน่งงานตั้งแต่แรก
  • สามารถวางแผนในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงาน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
  • ช่วยในการค้นหาความสามารถพิเศษในตัวของพนักงาน
  • ช่วยเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล

นิ้วหัวแม่มือ

  • N/A

การควบคุมส่วนศักยภาพ

การสื่อสารและการบริหารจัดการ/การเป็นผู้นำและความคิดสร้างสรรค์

นิ้วชี้

  • ส่วนหลังของกลีบหน้าผาก

การควบคุมส่วนศักยภาพ

การแก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ตรรกะ/มโนภาพ, มิติ และการนึกคิดจินตนาการ

นิ้วก้อย

  • กลีบท้ายทอย
    • การควบคุมส่วนศักยภาพ

      การเข้าใจจากการสังเกต/การอ่านตัวหนังสือ/การรับรู้ความรู้สึกจากการมอง

    นิ้วนาง

    • กลีบขมับ

    การควบคุมส่วนศักยภาพ

    การเข้าใจภาษา/ความจำในภาษา/การรับรู้ความรู้สึกจากการฟัง

    นิ้วกลาง

    •  กลีบกระหม่อม

    การควบคุมส่วนศักยภาพ

    การเข้าใจจากการปฏิบัติ/การเคลื่อนไหวของร่างกาย